บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2009

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี

รูปภาพ
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นโบราณสถานที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า มีอายุเก่าแก่ที่สุดในสุพรรณบุรี สันนิษฐานว่ามีอายุกกว่าพันปี พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือ ปูน สูง ๒๓.๔๘ เมตร ศิลปสมัยอู่ทอง มีร่องรอยการซ่อมแซมองค์พระหลายครั้งตามยุคสมัย ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโต วัดป่าฯ”เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง (ที่มา: http://www.watpasuphan.org/ ) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724 ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประ

พระธาตุนาดูน จ.มหาสารคาม

รูปภาพ
พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร (ที่มา: http://thai.tourismthailand.org/attraction/mahasarakham-44-175-1.html ) สาวๆ แวะอุดหนุนสินค้าจากชุมชน ... กระเป๋าสะพายเก๋ไก๋ ฝีมือชาวบ้าน ราคาถูกแสนถูก คุณภาพสินค้าส่งออกเลยก็ว่าได้ วิมานเมฆ ... บ้านพักท่ามกลา

บ้านท่าดินแดง จ.พังงา

รูปภาพ
อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ "ครูเจี๊ยบ" มีโอกาสได้เดินทางไปปฏิบัติภาระกิจ บรรยายเรื่องการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2552 การไปทำงานในครั้งนี้ ทีมงานของเราไม่ได้นั่งรถตู้ไป เหมือนทริปอื่นๆ เนื่องจากทริปนี้เราต้องทำงาน 2 จังหวัดด้วยกันคือ พังงา - ภูเก็ต ... เราจึงตัดสินใจนั่งเครื่องบินการบินไทยไปลงที่จังหวัดภูเก็ต และเช่ารถตู้ที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อเป็นพาหนะพาเราไปไหนมาไหนระหว่างการปฏิบัติงาน ...วันแรกที่เราเดินทางไปถึง ก็ได้มีโอกาสไปเยียมเยียน "บ้านท่าดินแดง" หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิ ... ผู้ใหญ่บ้านเล่าให้พวกเราฟังว่า บ้านท่าดินแดงตั้งอยู่ในตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีครัวเรือนอยู่ในท้องที่ 120 ครัวเรือน มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 430 คน พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ติดกับทะเลป่าชายเลน มีป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในบริเวณชายฝั่งคลองป่าชายเลน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ และในปี พ.ศ.2547 ได้เกิดภ

บ้านเหนือรุ่งอรุณ จ.พิษณุโลก

รูปภาพ
ปี 2552 นี้ เป็นปีที่ "ชีพจรลงเท้า" ครูเจี๊ยบมากๆ เลยนะเนี่ย ... กลับจากการไปบรรยายเรื่องชุมชนนักปฏิบัติที่จังหวัดมหาสารคาม (17 - 19 มิถุนายน 52) กลับถึง กทม. ก็ดึกดื่นเที่ยงคืนวันที่ 19 มิ.ย. พักผ่อนได้ 2-3 วัน พอถึงวันที่ 23 มิ.ย. ต้องออกเดินทางต่อเพื่อไปบรรยายเรื่องเดียวกันนี้ในช่วงวันที่ 24 - 26 มิถุนายน 52 ที่ จังหวัดพิษณุโลก เมืองสองแคว .... คราวนี้ มีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน "บ้านเหนือรุ่งอรุณ" หมู่ 12 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก หนึ่งในสาม "ชุมชนนักปฏิบัติ" ที่ทีมงานของเราเดินทางไปสอนวิธีการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ... ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า บ้านเหนือรุ่งอรุณ เป็นหมู่บ้านที่แยกจากหมู่ที่ 1 บ้านเด่นโบสถ์ ตำบลบ้านกร่าง เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2546 โดยการนำของ คณะกรรมการหมู่บ้านและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกและปัจจุบัน คือ ผู้ใหญ่สมหวัง น่วมมี วิสัยทัศน์ ผู้นำเข้มแข็ง ประชาชนร่วมใจ หมู่บ้านปลอดอบายมุข ดำรงชีวิตตามแนวคิคเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวน 172 หลังคาเรือน จำนวน ประชากร 499 คน ชาย 245 คน หญิง 254 คน โครงการแปรรู

หมู่บ้านดอนมัน จ.มหาสารคาม

รูปภาพ
ช่วงวันที่ 17 - 19 มิถุนายน 2552 ครูเจี๊ยบมีโอกาสได้เดินทางไป จ.มหาสารคาม เพื่อร่วมบรรยายเรื่อง "การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ" (CoP - Community of Practice) ซึ่งเป็นโครงการของกระทรวงไอซีที ... และนับว่าเป็นการเดินทางไปเยือนจังหวัดมหาสารคามเป็นครั้งแรก การไปทำงานในครั้งนี้ ก็ได้ไปเยี่ยมเยี่ยน " ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนมัน" ... หมู่บ้านดอนมัน หมู่ที่ 13 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามเขียวชอุ่มไปด้วยพืช ผัก สมุนไพร พืชสวนครัวตามรั้วบ้านไม่เว้นแม้แต่ที่ดินว่างเปล่าของบ้านแต่ละหลังเต็มไปด้วย ผักอีเลิด ผักแป้น ขิงข่า ตะไคร้ มะเขือหลากหลายพันธุ์ มีโรงเลี้ยงกบที่ปีนี้สามารถขยายพันธุ์ออกมาได้เป็นแสนตัว จับขายทำรายได้ให้กับชาวบ้าน แต่ชาวบ้านที่นี้ก็เน้นผลิตเพื่อบริโภคเอง หากเหลือก็จึงจะนำไปขาย ตามแนวคิดที่ว่า "กินเองเป็นหลัก ขายคนนอกเป็นรอง" "พ่อใหญ่แห่งหมู่บ้านดอนมัน" เล่าว่า ... แต่ก่อนหมู่บ้านดอนมัน เต็มไปด้วยปัญหาเช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่น ซึ่งปัญหาใหญ่ๆนั้นมาจากการที่ชาวบ้านขาดหลักยึดในการดำเนินชีวิต จึงกลายเป็นเพียงเหยื่อของระบบบริโภคนิย